ไฮโรกลิฟ
ไฮโรกลิฟที่จารึกบนหีบศพอียิปต์โบราณ
ไฮโรกลิฟชนิดต่าง
ๆ ถอดเป็นอักษรละตินปัจจุบัน
ไฮโรกลิฟ (อังกฤษ: Hieroglyph)
(อักษรอียิปต์โบราณ) เป็นอักษรภาพอย่างหนึ่งของอียิปต์โบราณ
เพิ่งมีการอ่านและแปลความหมายได้อย่างชัดเจนเป็นระบบเมื่อมีการค้นพบหินโรเซตตาในปี พ.ศ. 2342
ที่จารึกโดยตัวอักษร 3 แบบ คือ กรีกโบราณ ดีโมติก และไฮโรกลิฟ
การเปรียบเทียบชื่อราชวงศ์ต่างๆ โดยใช้ตัวอักษร 3 แบบ
ทำให้ผู้เชี่ยวชาญภาษาโบราณสามารถอ่านอักษรไฮโรกลิฟ ได้ใน 25 ปีต่อมา
จุดกำเนิด
ชาวอียิปต์เชื่อว่าอักษรนี้ประดิษฐ์โดยเทพเจ้าโทธ และเรียกชื่ออักษรว่า mdwt ntr (คำพูดของพระเจ้า)
คำว่าไฮโรกลิฟ มาจากภาษากรีก hieros (ศักดิ์สิทธิ์) + glypho
(จารึก) คำนี้ใช้เป็นครั้งแรก โดยคลีเมนต์แห่งอเล็กซานเดรีย
การเขียนในอียิปต์ที่เก่าที่สุด เริ่มเมื่อราว 2,867
ปีก่อนพุทธศักราช ส่วนอักษรไฮโรกลิฟที่ใหม่ที่สุด เป็นประกาศที่กำแพงวิหารในฟิแล (philae)
อายุราว พ.ศ. 939 อักษรนี้ใช้กับจารึกอย่างเป็นทางการ
ตามกำแพงวิหารและหลุมฝังศพ บางแห่งมีการระบายสีด้วย
การเขียนทั่วไปในชีวิตประจำวันใช้อักษรเฮียราติก หลังจากจักรพรรดิทีออสซิอุสที่ 1
สั่งปิดวิหารของพวกเพเกิน ทั่วจักรวรรดิโรมันในช่วงพ.ศ. 1000
ความรู้เกี่ยวกับอักษรนี้ได้สูญหายไป จนกระทั่งชอง-ฟรองซัว ชองโปลียง
ชาวฝรั่งเศสถอดความอักษรนี้ได้
ลักษณะ
อักษรไฮโรกลิฟอาจจะเก่ากว่าอักษรรูปลิ่มของชาวซูเมอร์
ทิศทางการเขียนเป็นได้หลายแบบ ทั้งแนวนอน ซ้ายไปขวาหรือขวาไปซ้าย
แนวตั้งจากบนลงล่าง ซ้ายไปขวาหรือขวาไปซ้าย การบอกทิศทาง
สังเกตจากการหันหน้าของรูปคนหรือสัตว์ ซึ่งจะหันหน้าเข้าหาจุดเริ่มต้นของเส้น
อียิปต์ยุคต้นและยุคกลาง (ราว 1,457-1,057 ปีก่อนพุทธศักราช) ใช้สัญลักษณ์ 700 ตัว
ในยุคกรีก-โรมัน ใช้สัญญลักษณ์มากกว่า 5,600 ตัว
สัญลักษณ์แต่ละตัวบอกทั้งการออกเสียงและความหมาย เช่นสัญลักษณ์ของจระเข้
เป็นรูปจระเข้รวมกับสัญลักษณ์แทนเสียง “msh” เช่นเดียวกับคำว่าแมว
“miw” จะใช้รูปแมว รวมกับสัญลักษณ์แทนอักษร m i และ w
อักษรที่มีลักษณะเช่นเดียวกับอักษรไฮโรกลิฟของอียิปต์จะเรียกอักษรไฮโร
กลิฟฟิกด้วย เช่นอักษรไฮโรกลิฟฟิกของชาวลูเวียและชาวฮิตไตน์
มีคนพบเห็นคำจึงนำมาแปลและบอกว่า ผู้ที่สร้างภาษานี้คือ soliya madora nasuke
แหล่งที่มา - http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%AE%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%9F
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น