ตัวอักษรคันจิ
คันจิ เป็น อักษรที่ใช้ในระบบการเขียนภาษาญี่ปุ่นในปัจจุบัน จัดอยู่ในประเภทอักษรคำ (Logograms) ใช้ร่วมกับตัวอักษร อีก 4 ประเภท ได้แก่ ฮิรางานะ (ひらがな, 平仮名 Hiragana) คะตาคานะ (カタカナ, 片仮名 Katakana) โรมะจิ (ローマ字 Rōmaji) และตัวเลขอารบิก
คำว่า "คันจิ" หากอ่านตามเสียงภาษาจีนกลางจะอ่านว่า
"ฮั่นจื้อ" มีความหมายว่า ตัวอักษรของชาวฮั่น
อันเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศจีน คำว่าภาษาจีนในภาษาจีนเอง ก็เรียกว่า ภาษาฮั่น
(ภาษาจีนกลาง: 漢語, hànyǔ)
เช่นกัน
ประวัติ
ตัวอักษรจีน เผยแพร่มาสู่ประเทศญี่ปุ่นโดยผ่านหนังสือต่างๆ
จากประเทศจีน หลักฐานอักษรจีนที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่น คือ
ตราประทับทองคำที่ได้รับจากฮ่องเต้แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออกในพ.ศ. 600 ชาวญี่ปุ่นเริ่มเรียนรู้ภาษาจีนโบราณด้วยตัวเองตั้งแต่เมื่อใดนั้นไม่ปรากฏแน่ชัด
เอกสารลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของญี่ปุ่นนั้น คือ หนังสือตอบกลับทางการทูตจากกษัตริย์ทั้งห้าแห่งวา
(倭の五王 Wa no go-ō) (วา (倭,和 Wa]) เป็นชื่อแรกของประเทศญี่ปุ่นที่ถูกบันทึกในประวัติศาสตร์)
ถึง ซุ่นฮ่องเต้ ((劉)宋順帝) แห่งราชวงศ์หลิวซ่ง (劉宋) ของจีน
ซึ่งเขียนขึ้นโดยชาวจีนที่อาศัยในประเทศญี่ปุ่น เมื่อพ.ศ. 1021 และได้รับการยกย่องว่าใช้สำนวนอุปมาอุปมัยได้อย่างยอดเยี่ยม ต่อมา จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นทรงก่อตั้งองค์กรที่เรียกว่า
“ฟุฮิโตะ” ขึ้นเพื่ออ่านและเขียนภาษาจีนโบราณ
ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 เป็นต้นมา
เอกสารภาษาจีนที่เขียนในญี่ปุ่นมักจะได้รับอิทธิพลจากภาษาญี่ปุ่น
ซึ่งแสดงว่าอักษรจีนได้รับการยอมรับโดยทั่วไปในญี่ปุ่น
ในสมัยที่อักษรจีนเผยแพร่เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นนั้น ภาษาญี่ปุ่นเองยังไม่มีตัวอักษรไว้เขียน
อักษรจีนหรือคันจิจะถูกเขียนเป็นภาษาจีน และอ่านเป็นเสียงภาษาจีนทั้งหมด
ต่อมาจึงเริ่มมีการใช้ระบบคัมบุน (漢文 kanbun) คือ การใช้อักษรจีนร่วมกับเครื่องหมายแสดงการออกเสียง
(Diacritic) เพื่อช่วยให้ชาวญี่ปุ่นสามารถออกเสียงตัวอักษรจีนนั้นๆได้
เมื่ออ่านออกเสียงได้แล้ว ชาวญี่ปุ่นก็จะสามารถเรียงประโยคใหม่
และเติมคำช่วยตามหลักไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่นที่ตนเองเข้าใจ และสามารถเข้าใจประโยคภาษาจีนนั้นได้ในที่สุด
ในยุคต่อมา เริ่มมีการนำตัวอักษรจีนมาเขียนเป็นประโยคภาษาญี่ปุ่น โดยใช้ระบบที่เรียกว่า
มันโยงะนะ (万葉仮名, まんようがな Man'yōgana) คือ การใช้ตัวอักษรจีนหนึ่งตัวเขียนแทนภาษาญี่ปุ่นหนึ่งพยางค์ โดยจะใช้ตัวอักษรจีนที่มีเสียงในภาษาจีนใกล้
เคียงกับพยางค์ของภาษาญี่ปุ่นพยางค์นั้นๆ โดยไม่คำนึงถึงความหมายของอักษรจีนตัวนั้นเลย
ระบบการเขียนนี้ปรากฏอยู่ในหนังสือรวมบทกวีชื่อมันโยชู (万葉集 Man'yōshū) แต่งขึ้นประมาณพ.ศ. 1302 ในยุคนะระ ถือเป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังหลงเหลืออยู่ของญี่ปุ่น
การใช้ระบบอักษรพยางค์นี้ ได้พัฒนาไปเป็นอักษรฮิระงะนะ ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรมันโยงะนะที่เขียนด้วยพู่กันในแบบอักษรหวัด
วัตถุประสงค์เดิมของอักษรฮิระงะนะ คือ
เพื่อให้สตรีซึ่งสังคมไม่ยอมได้ให้รับการศึกษาสูงได้อ่านออกเขียนได้ วรรณกรรมในยุคเฮอันส่วนใหญ่ที่ผู้แต่งเป็นสตรีถูกเขียนด้วยอักษรฮิระงะนะ
อักษรพยางค์อีกประเภทหนึ่งของญี่ปุ่น คือ อักษรคะตะคะนะ มีต้นกำเนิดคล้ายคลึงกับอักษรฮิระงะนะ
อักษรคะตะคะนะดัดแปลงมาจากอักษรมันโยงะนะเช่นกัน
แต่ตัดเฉพาะบางส่วนของอักษรมันโยงะนะมาเป็นอักษรคะตะคะนะหนึ่งตัว อักษรคะตะคะนะกำเนิดในสำนักสงฆ์ยุคเฮอัน
ใช้เสมือนการย่ออักษรมันโยงะนะเพื่อให้ง่ายต่อพระสงฆ์ในการศึกษาพระคัมภีร์ ดังนั้น
ตัวอักษรคะนะ ของญี่ปุ่นทั้งฮิระงะนะและคะตะคะนะ
จึงมีต้นกำเนิดมาจากอักษรคันจินี่เอง
ในปัจจุบัน อักษรคันจิใช้เขียนเป็นส่วนหนึ่งของคำภาษาญี่ปุ่นมากมาย
โดยอักษรคันจิจะเป็นขั้วคำ หรือหัวข้อของคำ (Word stem) และเติมอักษรฮิระงะนะ
เพื่อการผันคำให้เป็นทั้งคำนาม คำวิเศษณ์ และคำกริยา นอกจากนี้
อักษรคันจิจะใช้เชียนชื่อสิ่งต่างๆ ทั้งชื่อบุคคล ชื่อสถานที่ ชื่อเมือง
ชื่อวิชาหรือศาสตร์ต่างๆ เป็นต้น เพื่อความเป็นทางการ
เนื่องจากอักษรจีนนั้น มีจำนวนนับไม่ถ้วน ทำให้ยากต่อการเรียนรู้และจดจำ กระทรวงศึกษาธิการของญี่ปุ่นจึงได้ประกาศชุดอักษรคันจิที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
เรียกว่า โจโยคันจิ (常用漢字 Jōyō kanji) ซึ่งชาวญี่ปุ่นมักจะจดจำอ่านออกเสียงได้ ส่วนอักษรคันจินอกเหนือจากนี้
จะเขียนกำกับเสียงด้วยอักษร โอะกุริงะนะ (送り仮名 Okurigana) ซึ่งเป็นอักษรฮิระงะนะตัวเล็กๆ
กำกับเสียงของอักษรคันจิแต่ละตัว เพื่อให้ทราบความหมายและอ่านออกเสียงได้
เสียงของคันจิ
เนื่องจากอักษรคันจิคืออักษรจีนที่นำมาใช้ในภาษาญี่ปุ่น อักษรคันจิหนึ่งจึงตัวอาจอ่านได้หลายแบบ อาจถึงสิบแบบหรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับรูปประโยค เป็นคำประสม หรือตำแหน่งคำในประโยคนั้นๆ การอ่านออกเสียงตัวอักษรคันจินั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
เสียงของคันจิ
เนื่องจากอักษรคันจิคืออักษรจีนที่นำมาใช้ในภาษาญี่ปุ่น อักษรคันจิหนึ่งจึงตัวอาจอ่านได้หลายแบบ อาจถึงสิบแบบหรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับรูปประโยค เป็นคำประสม หรือตำแหน่งคำในประโยคนั้นๆ การอ่านออกเสียงตัวอักษรคันจินั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
- เสียงอง (ญี่ปุ่น: 音読み on'yomi ) แปลว่า อ่านเอาเสียง เป็นการออกเสียงคันจิของคำนั้นตามเสียงภาษาจีน
- เสียงคุน (ญี่ปุ่น: 訓読み kun'yomi ) แปลว่า อ่านเอาความหมาย เป็นการออกเสียงคันจิของคำนั้นในภาษาญี่ปุ่น
ตัวอย่างเช่น 泉 จากคำว่า 温泉 (onsen) มีเสียงองคือ せん (sen) ส่วนเสียงคุนคือ いずみ (izumi) มีความหมายว่าน้ำพุ
อย่างไรก็ตามมีหลายคำในภาษาญี่ปุ่นที่ อ่านออกเสียงไม่ตรงกับคันจิที่เขียน
ซึ่งเป็นการอ่านแบบพิเศษ โดยผู้ที่เรียนภาษาญี่ปุ่นจำเป็นต้องจดจำข้อยกเว้นเหล่านี้เอง
เนื่องจากการใช้คันจิสื่อความหมายมากกว่าเสียง ตัวอย่างเช่น 上手 อ่านว่า じょうず (jouzu) แปลว่า เก่ง, เชี่ยวชาญ
โดยประกอบจากคันจิ 2 ตัวคือ 上 หมายความว่า "ข้างบน, เหนือ" และ 手 หมายความว่า "มือ" ทั้งที่ปกติแล้ว 手 จะไม่อ่านออกเสียงว่า ず (zu)
เสียงอ่านแบบอื่นๆ
เสียงอ่านแบบอื่นๆ
จูบะโกะ (ญี่ปุ่น: 重箱 jūbako) หรือ ยุโต ญี่ปุ่น: 湯桶
yutō ) คือ คำประสมคันจิหลายตัวที่อ่านด้วยเสียงองและเสียงคุนผสมกัน
ซึ่งชื่อทั้งสองเองก็เป็นคำประสมประเภทนี้ด้วยเช่นกัน โดยคำประเภทจูบะโกะ คันจิตัวแรกจะอ่านด้วยเสียงอง
และตัวหลังอ่านด้วยเสียงคุน แต่คำแบบยุโต จะอ่านผสมทั้งเสียงองและเสียงคุน
ตัวอย่างเช่น 場所 (basho, คุน-อง สถานที่) 金色 (kin'iro, อง-คุน สีทอง) และ 合気道 (aikidō, คุน-อง-อง ไอคิโด)
เป็นต้น
นะโนะริ (ญี่ปุ่น: 名乗り nanori )
คือ คันจิบางตัวที่ไม่ค่อยมีผู้รู้วิธีอ่าน มักจะใช้กับชื่อบุคคล และมันจะอ่านด้วยเสียงคุน
บางครั้งก็ใช้กับชื่อสถานที่ ซึ่งอ่านแบบพิเศษ และไม่ใช้กับสิ่งอื่น
กิคุน (ญี่ปุ่น: 義訓 gikun )
หรืออีกชื่อคือ จุคุจิคุน (ญี่ปุ่น: 熟字訓 jukujikun ) คือ
การอ่านคำประสมคันจิที่ไม่ได้ไม่ได้แยกตามคันจิแต่ละตัว และไม่คำนึงว่าคันจิตัวนั้นจะออกเสียงองหรือเสียงคุน
แต่จะอ่านด้วยคำภาษาญี่ปุ่นดั้งเดิมตามความหมายของคำประสมนั้น ตัวอย่างเช่น 今朝 (เช้านี้) ไม่ได้อ่านว่า ima'asa
(เสียงคุน) หรือ konchō (เสียงอง)
แต่จะอ่านด้วยภาษาญี่ปุ่นดั้งเดิม 2 พยางค์ว่า kesa
(เช้านี้)
อะเตะจิ (ญี่ปุ่น: 当て字, 宛字 ateji )
คือ คันจิที่ใช้เขียนคำยืมจากภาษาต่างประเทศ
โดยใช้แทนเสียงมากกว่าความหมาย ซึ่งมีลักษณะคล้ายมันโยงะนะ ตัวอย่างเช่น 亜細亜 (ajia) ในสมัยก่อนใช้เขียนคำว่า เอเซีย จนในปัจจุบัน ใช้ 亜 เขียนในคำประสม เพื่อแทนความหมายถึงทวีปเอเชีย
เช่น 東亜 (tōa เอเซียตะวันออก)
อีกคำหนึ่งคือ 亜米利加 (amerika อเมริกา) ตัวอักษร 米 ถูกหยิบมาใช้ เพื่อประสมกับ 国 (koku ประเทศ) กลายเป็น 米国 (beikoku สหรัฐอเมริกา)
เป็นคำระดับพิธีการ
จำนวนอักษรคันจิ
จำนวนอักษรคันจิ
ยังเป็นที่โต้เถียงว่า จำนวนอักษรจีนหรืออักษรคันจิมีทั้งหมดกี่ตัว
พจนานุกรมไดคันวะ จิเตน (大漢和辞典 Dai Kan-Wa jiten แปลว่า
มหาพจนานุกรมจีนญี่ปุ่น) ได้รวบรวมอักษรคันจิไว้ประมาณ 50,000 ตัว ซึ่งถือว่าครอบคลุมมาก ส่วนในประเทศจีน มีพจนานุกรมภาษาจีนเล่มหนึ่งรวมรวมไว้ถึง
100,000 ตัว ซึ่งรวมถึงอักษรที่มีรูปแบบครุนเครือด้วย แต่อักษรคันจิที่ใช้กันจริงในประเทศญี่ปุ่นมีอยู่เพียงประมาณ
2,000-3,000 ตัวเท่านั้น
ประเภทของคันจิ
ประเภทของคันจิ
ประเภทของคันจิ แบ่งได้ 6 ประเภท คือ
โชเกโมจิ (象形文字)
เป็น คันจิที่กำเนิดขึ้นแรกสุดแสดงรูปลักษณะของสิ่งต่างๆส่วนใหญ่เป็นชื่อสิ่งของ คันจิประเภทนี้มีประมาณ 600 ตัว ตัวอย่างเช่น 目 แปลว่า ตา, 木 แปลว่า ต้นไม้
ชิจิโมจิ (指事文字)
เป็น คันจิที่ใช้ในรูปลักษณะต่างๆแสดงความหมายสิ่งที่เป็นนามธรรมหรือสิ่งที่ไม่ มีรูปโดยใช้ขีดหรือเส้น และในบางครั้งจะนำ โชเกโมจิ (象形文字) มาประสมด้วย คันจิประเภทนี้มี ประมาณ 135 ตัว ตัวอย่างเช่น 上 แปลว่า บน, 下 แปลว่า ล่าง
ไคอิโมจิ (会意文字)
เป็น คันจิที่นำคันจิที่สำเร็จรูปแล้วมาประกอบกันเป็นคันจิใหม่ที่มีความหมายใหม่ ตัวอย่างเช่น 峠 (ช่องเขา) เกิดจากการนำคันจิ 山 (ภูเขา), 上 (บน) และ 下 (ล่าง) มารวมกัน 休 (หยุดพัก) เกิดจากการนำคันจิ 人 (คน) และ 木 (ต้นไม้) มารวมกัน
เคเซโมจิ (形声文字)
เป็น คันจิที่นำคันจิที่แสดงความหมายกับส่วนที่แสดงเสียงมาประกอบกันเป็นคันจิ ใหม่ที่มีความหมายใหม่ คันจิประเภทนี้มีประมาณร้อยละ 90 ของคันจิทั้งหมด
เท็นชูโมจิ (転注文字)
เป็นคันจิที่ใช้ในความหมายอื่นไม่ใช่ความหมายเดิมของคันจิตัวนั้นๆ
คะชะกุโมจิ (仮借文字)
เป็นคันจิที่ยืมมาแต่เสียงอ่านโดยไม่เกี่ยวข้องกับความหมาย
การเรียนคันจิ
กระทรวงศึกษาธิการของญี่ปุ่นได้ กำหนดอักษรคันจิที่ใช้เป็นประจำในชีวิตประจำวันซึ่งใช้เป็นประจำ โดยกำหนดให้อยู่ในหลักสูตรการศึกษาของนักเรียนญี่ปุ่น เรียกว่า โจโยคันจิ (常用漢字) มีทั้งหมด 1,945 ตัว อย่างไรก็ตามคันจิที่ใช้ในชีวิตประจำวันมีมากกว่า 3,000 ตัว โดยเด็กนักเรียนญี่ปุ่นจะ ต้องจดจำคันจิที่อยู่นอกเหนือหลักสูตรเหล่านี้เอง คันจิที่นอกเหนือจากคันจิ เช่น คันจิที่ใช้เป็นชื่อคน (จิมเมโยคันจิ 人名用漢字) หลักสูตรของเด็กนักเรียนญี่ปุ่นจะเริ่มเรียนตัวอักษรคันจิตั้งแต่ประถมศึกษา ปีที่ 1 เริ่มต้นที่ประมาณ80ตัว เทียบเท่ากับการสอบวัดระดับคันจิระดับ 10 (คันจิเคนเต 漢字検定)โดยเด็กญี่ปุ่นจะเรียนพื้นฐานคันจิทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเสียงอง เสียงคุน โอะกุริงะนะ จำนวนขีด บุชุของอักษร การผสมคำ การใช้คำ ความหมาย เด็กญี่ปุ่นประมาณ ป.5-ป.6 ก็จะสามารถอ่านคันจิที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้หมดแล้ว
การเรียงลำดับของคันจิ
โชเกโมจิ (象形文字)
เป็น คันจิที่กำเนิดขึ้นแรกสุดแสดงรูปลักษณะของสิ่งต่างๆส่วนใหญ่เป็นชื่อสิ่งของ คันจิประเภทนี้มีประมาณ 600 ตัว ตัวอย่างเช่น 目 แปลว่า ตา, 木 แปลว่า ต้นไม้
ชิจิโมจิ (指事文字)
เป็น คันจิที่ใช้ในรูปลักษณะต่างๆแสดงความหมายสิ่งที่เป็นนามธรรมหรือสิ่งที่ไม่ มีรูปโดยใช้ขีดหรือเส้น และในบางครั้งจะนำ โชเกโมจิ (象形文字) มาประสมด้วย คันจิประเภทนี้มี ประมาณ 135 ตัว ตัวอย่างเช่น 上 แปลว่า บน, 下 แปลว่า ล่าง
ไคอิโมจิ (会意文字)
เป็น คันจิที่นำคันจิที่สำเร็จรูปแล้วมาประกอบกันเป็นคันจิใหม่ที่มีความหมายใหม่ ตัวอย่างเช่น 峠 (ช่องเขา) เกิดจากการนำคันจิ 山 (ภูเขา), 上 (บน) และ 下 (ล่าง) มารวมกัน 休 (หยุดพัก) เกิดจากการนำคันจิ 人 (คน) และ 木 (ต้นไม้) มารวมกัน
เคเซโมจิ (形声文字)
เป็น คันจิที่นำคันจิที่แสดงความหมายกับส่วนที่แสดงเสียงมาประกอบกันเป็นคันจิ ใหม่ที่มีความหมายใหม่ คันจิประเภทนี้มีประมาณร้อยละ 90 ของคันจิทั้งหมด
เท็นชูโมจิ (転注文字)
เป็นคันจิที่ใช้ในความหมายอื่นไม่ใช่ความหมายเดิมของคันจิตัวนั้นๆ
คะชะกุโมจิ (仮借文字)
เป็นคันจิที่ยืมมาแต่เสียงอ่านโดยไม่เกี่ยวข้องกับความหมาย
การเรียนคันจิ
กระทรวงศึกษาธิการของญี่ปุ่นได้ กำหนดอักษรคันจิที่ใช้เป็นประจำในชีวิตประจำวันซึ่งใช้เป็นประจำ โดยกำหนดให้อยู่ในหลักสูตรการศึกษาของนักเรียนญี่ปุ่น เรียกว่า โจโยคันจิ (常用漢字) มีทั้งหมด 1,945 ตัว อย่างไรก็ตามคันจิที่ใช้ในชีวิตประจำวันมีมากกว่า 3,000 ตัว โดยเด็กนักเรียนญี่ปุ่นจะ ต้องจดจำคันจิที่อยู่นอกเหนือหลักสูตรเหล่านี้เอง คันจิที่นอกเหนือจากคันจิ เช่น คันจิที่ใช้เป็นชื่อคน (จิมเมโยคันจิ 人名用漢字) หลักสูตรของเด็กนักเรียนญี่ปุ่นจะเริ่มเรียนตัวอักษรคันจิตั้งแต่ประถมศึกษา ปีที่ 1 เริ่มต้นที่ประมาณ80ตัว เทียบเท่ากับการสอบวัดระดับคันจิระดับ 10 (คันจิเคนเต 漢字検定)โดยเด็กญี่ปุ่นจะเรียนพื้นฐานคันจิทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเสียงอง เสียงคุน โอะกุริงะนะ จำนวนขีด บุชุของอักษร การผสมคำ การใช้คำ ความหมาย เด็กญี่ปุ่นประมาณ ป.5-ป.6 ก็จะสามารถอ่านคันจิที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้หมดแล้ว
การเรียงลำดับของคันจิ
ลำดับของอักษรคันจิสามารถเรียงได้ตามลำดับดังนี้คือ
- ลำดับของบุชุ (部首)- จำนวนขีด(総画数)
- เสียงของคันจิ
ผู้แต่งคือใครค่ะ
ตอบลบผู่แต่งคือใครคะ
ตอบลบ